วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ข่าวเกี่ยวกับการศึกษา

แจก "แทบเล็ต" ป.1 5 หมื่นเครื่องวันนี้ ส่งจังหวัดละ 2 รอบ

สพฐ. เตรียมแจก 'แทบเล็ต' " ป.1 วันนี้ พร้อมปรับแผนกระจายแทบเล็ตใหม่ จัดสรรให้ทุกจังหวัดไล่ตามตัวอักษรจาก "ก-ฮ"แบ่งเป็น จังหวัดละ 2 รอบ นักเรียน ป.1 กระบี่ กาฬสินธุ์ กาญจนบุรี กำแพงเพชร กรุงเทพมหานครได้รับก่อน ไล่ไปเรื่อยๆ จนถึงหมวด  ทุกจังหวัดจะได้รับเครื่องแทบเล็ตประมาณ 48% 
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จัดพิธีปล่อยขบวนรถคาราวานส่งเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา Tablet ของนักเรียน ป.1 ล็อตแรกจำนวน 50,000 เครื่องวันนี้ (18 ก.ค.) ไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) และโรงเรียนต่างๆ โดยจะปล่อยจากบริเวณหน้ากระทรวงศึกษาธิการ 

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า จากกำหนดการที่จะมีพิธีปล่อยคาราวานกระจายเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาหรือแทบเล็ตจากเดิมคือวันที่ 16 ก.ค. ซึ่งสพฐ.ได้เลื่อนพิธีการมาเป็นวันนี้ เพราะติดปัญหาเรื่องเวลาในการส่งมอบเครื่องแทบเล็ตใกล้เคียงกับกำหนดการเดิมตนจึงให้เลื่อยไปเป็นวันพุธที่ 18 ก.ค.นี้ โดยบริษัท พัสดุภัณฑ์ไทย จำกัด จะเป็นผู้จัดส่งเครื่องแทบเล็ตทั้งหมด ซึ่งในล็อตแรกจะจัดส่งไปยัง สพป.และโรงเรียนต่างๆ จำนวน 50,000 เครื่อง ตามจังหวัดหมวด ก ไปตามลำดับ โดยแต่ละแห่งจะได้รับเครื่องแทบเล็ตประมาณ 48% ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั้งหมด 
"วันนี้ถือเป็นการตีระฆังว่า แทบเล็ตเริ่มกระจายให้เด็กนักเรียนชั้น ป.1 เริ่มต้นขึ้นแล้ว และในวันที่ 19 ก.ค. นี้ จะนำแทบเล็ตส่วนหนึ่งไปมอบให้แก่โรงเรียนดาราคาม ในเขตคลองเตย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เด็กนักเรียนฐานะไม่ค่อยดี โดยจะมีการเสวนานักวิชาการ มีคณะผู้บริหารและรัฐมนตรีได้พูดคุยเชิงนโยบายว่าเครื่องแทบเล็ตจะแก้ปัญหาการศึกษาไทยได้อย่างไร จากนั้นก็จะจัดเสวนาอีกครั้งที่ จ.สมุทรสาคร" นายชินภัทร กล่าว 
นายชินภัทร กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามการกระจายแทบเล็ตไปในแต่ละจังหวัด จะแบ่งเป็นจังหวัดละ 2 ครั้ง โดยในล็อตแรก โรงเรียนประถมทุกแห่งในทุกจังหวัดตั้งแต่อักษร ก เป็นต้นไปจะได้เครื่องแทบเล็ตครึ่งหนึ่งก่อนเพื่อให้ทุกโรงเรียนได้แทบเล็ต เหมือนการกระจายความสุขให้แก่เด็กๆ ทั่วประเทศ จากนั้นเมื่อเครื่องแทบเล็ตล็อตสองก็จะกระจายที่เหลือคาดว่าการกระจายเครื่องแทบเล็ตให้ครบทั้งหมดภายในภาคเรียนนี้ 
นายชินภัทร เปิดเผยว่า ในวันที่ 18 ก.ค. นี้ โดยจะสามารถดำเนินการกระจายเครื่องแทบเล็ตล็อตแรกนี้ไปยังโรงเรียนต่างๆ ในจังหวัดหมวด ก ไปตามลำดับ จังหวัดกระบี่เป็นจังหวัดแรก กาฬสินธุ์ กาญจนบุรี กำแพงเพชร กรุงเทพมหานคร ไล่ไปเรื่อยๆ จนถึง จังหวัดหมวด อ โดยแต่ละจังหวัดจะได้รับเครื่องแท็บเล็ตประมาณ 48% ของจำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั้งหมดในจังหวัดก่อน คาดว่าจะสามารถจัดสรรแทบเล็ตได้ครบทั้งหมดภายในภาคเรียนนี้ 
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมากระบวนการกระจายแทบเล็ตล่าช้ากว่ากำหนดการเนื่องจาก การตรวจสอบเครื่องแทบเล็ต ต้องรอให้ครบ 35,000 เครื่องก่อน จากนั้นคณะกรรมการตรวจรับจากกระทรวงไอซีทีก็จะเริ่มสุ่มตรวจเครื่องแทบเล็ตจำนวน 500 เครื่อง และเมื่อตรวจสอบและเซ็นตรวจรับเรียบร้อยแล้ว กระทรวงไอซีที จะทำหนังสือส่งมอบแทเล็ตให้กับ สพฐ.อย่างเป็นทางการ โดยเครื่องแทบเล็ตทั้งหมดยังถูกเก็บในคลังสินค้าของบริษัท พัสดุภัณฑ์ไทย จำกัด เมื่อ สพฐ.ได้รับหนังสือส่งมอบแล้วก็สามารถดำเนินการกระจายเครื่องแทบเล็ตล็อตแรกนี้ไปยังโรงเรียนต่างฯในจังหวัดหมวด ก. ไปตามลำดับ โดยแต่ละแห่งจะได้รับเครื่องแทบเล็ตประมาณ 48%ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั้งหมด 
"การกระจายเครื่องแทบเล็ตไปยังโรงเรียนต่างๆ ต้องดูความพร้อมและเลือกวันที่ดีๆ เพื่อเป็นการตีระฆังว่า แทบเล็ตเริ่มกระจายให้เด็กนักเรียนชั้นป.1 เริ่มต้นขึ้นแล้ว และในวันที่ 19 ก.ค.นี้จะนำแทบเล็ตส่วนหนึ่งไปมอบให้โรงเรียนดาราคาม ในเขตคลองเตย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เด็กนักเรียนฐานะไม่ค่อยดี โดยจะมีการเสวนานักวิชาการ มีคณะผู้บริหารและรัฐมนตรีได้พูดคุยเชิงนโยบายว่าเครื่องแทบเล็ตจะแก้ปัญหาการศึกษาไทยได้อย่างไร จากนั้นก็จะจัดเสวนาอีกครั้งที่ จ.สมุทรสาคร" นายชินภัทร กล่าว
ครูป.1พร้อมสอนใช้แทบเล็ต 

นายเอนก รัตน์ปิยะภาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ. เปิดเผยว่าการจัดอบรมศึกษานิเทศก์แกนนำการใช้แทบเล็ตเพื่อให้ครูใช้สอนนักเรียนชั้น ป.1 จำนวน 588,967 คน ซึ่งเป็นการอบรมศึกษานิเทศก์ด้านบูรณาการใช้แทบเล็ต เพื่อยกระดับการเรียนการสอนและเป็นแนวทางให้ศึกษานิเทศก์นำไปใช้ฝึกอบรมครูชั้น ป. 1 ต่ออีกครั้งหนึ่ง โดยการอบรมจะแบ่งเป็น 5 หัวข้อสำคัญ ได้แก่
1.การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาพอนาคตการศึกษาไทย
2.การสร้างความรู้และทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์พกพาแทบเล็ตในการจัดการเรียนรู้
3.สร้างความรู้เกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้สำหรับคอมพิวเตอร์พกพาแทบเล็ต
4.สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์พกพาแทบเล็ต และ
5. สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศูนย์บริการคอมพิวเตอร์พกพาแทบเล็ตเพื่อการเรียนการสอน
 โดยหลังจากศึกษานิเทศก์แกนนำผ่านการอบรมแล้ว จากนั้นก็จะไปจัดการอบรมครูชั้น ป.1 อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งต้องให้แล้วเสร็จภายในเดือนส.ค. นี้


ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ 

LINE


LINE คืออะไร
         LINE เป็นโปรแกรมแชทที่สามารถใช้งานได้ทั้งโทรศัพท์มือถือที่มีระบบปฏิบัติการ iOS, Android, Windows Phone ล่าสุดสามารถใช้งานได้บนคอมพิวเตอร์ PC และ Mac ได้แล้ว ด้วยความที่มีลูกเล่นมากมาย สามารถแชท ส่งรูป ส่งไอคอน ส่ง Sticker ตั้งค่าคุยกันเป็นกลุ่ม ฯลฯ ทำให้มีผู้ใช้งานแอพนี้เป็นจำนวนมาก

LINE

สิ่งที่โดดเด่นของ LINE
         - สามารถเพิ่มกลุ่มสนทนาหรือเชิญเพื่อนได้ถึง 100 คน
          - ออกแบบให้สามารถโทร.หากันฟรีแบบ 1 ต่อ 1
          - พัฒนาคุณภาพของการโทร.ให้ดียิ่งขึ้น โดยตัดเสียงรบกวนและเสียงแทรกจากบริเวณรอบๆ ทำให้ผู้ใช้สามารถพูดคุย
          - ส่งวิดีโอ และข้อความเสียงฟรี

การแอดเพื่อนของ LNE สามารถทำได้หลายแบบ เช่น
          - Shake It โดยเข้าโปรแกรม LINE ทั้งเราและเพื่อนแล้วให้เขย่าโทรศัพท์ใกล้ๆ กัน เพียงแค่นี้เพื่อนก็จะถูกแอดเข้ามาในรายชื่อของเราแล้ว
          - แอดเพื่อนจากรายชื่อที่อยู่ในโทรศัพท์ โดยที่สามารถกดเลือกได้เลย
          - แอดเพื่อนด้วย QR code โดยเมื่อเข้าไปแล้วจะมีช่องที่เป็นกล้องให้เราอ่าน QR Code ของเพื่อน
          - แอดเพื่อนโดยการค้นหาไอดีของเพื่อน

          นอกจากนี้ LINE ยังมีโปรแกรมเสริม ทั้ง LINE Camera ที่ถ่ายภาพฟรี พร้อมกรอบกว่า 100 แบบ และแสตมป์แต่งภาพมากกว่า 600 แบบเก๋ๆ โดยจุดเด่นของแอพพลิเคชั่นนี้คือ dki ตกแต่งภาพหลากหลายรวมไปถึงการถ่ายภาพผ่านฟิลเตอร์ถึง 14 แบบ ที่ช่วยปรับแต่งภาพและรายละเอียดให้ภาพของคุณดูดียิ่งขึ้น พร้อมด้วยพู่กันกว่า 156 ชนิด เพื่อให้ผู้ใช้ได้แต่งแต้มด้วยแสตมป์และเลือกแบบตัวอักษรต่างๆ พิมพ์ข้อความลงบนภาพตามสไตล์ของตัวเอง และสามารถแชร์ภาพได้โดยตรงผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กได้อีกด้วย
          อีกทั้งโปรแกรมส่งการ์ดฟรีที่เรียกว่า LINE Card โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความส่วนบุคคล โดยเลือกจากภาพการ์ดต่างๆ ได้ฟรีตามความชอบ และสามารถเลือกภาพของตัวเองจากคลังภาพและแทรกไปในภาพการ์ด เพื่อแต่งเติมและส่งต่อไปถึงบุคคลพิเศษนั่นเอง
          แต่สิ่งที่ถือว่าเป็นการต่อยอดแบบไม่มีหวงของ LINE ก็คือการนำโปรแกรม LINE มาไว้ใน PC สำหรับวินโดวส์และ Mac รวมถึงเบราเซอร์สำหรับสมาร์ทแท็บเล็ต ที่ผู้ใช้ยังสามารถใช้รหัส LINE QR เพื่อเข้าสู่ระบบในเวอร์ชั่นพีซีได้โดยไม่ต้องลงทะเบียนเพิ่มเติม ทำให้ผู้ใช้ไม่พลาดการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนผ่านโปรแกรม LINE ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงาน รวมถึงบริการของโซเชียลเน็ตเวิร์กต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย
          จากการเติบโตที่รวดเร็วเมื่อเทียบกับโซเชียลเน็ตเวิร์กอื่นๆ แล้ว ถือว่า LINE ได้เปรียบมาก เพราะแค่ 257 วัน ก็มีผู้ใช้ถึง 20 ล้านคน และหลังจากนั้นอีก 6 เดือน เพิ่มขึ้นถึง 35 ล้านคน จะเห็นได้ว่า LINE มีการเพิ่มขึ้นมากถึง 600 เปอร์เซ็นต์
          เรียกได้ว่ามาแรงมากสำหรับโปรแกรม LINE นอกจากจะมีให้โหลดฟรีแล้ว ยังมีคุณสมบัติหลายอย่างให้เราได้เพลิดเพลินในการใช้ ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาเพื่อตอบสนองกับโลกออนไลน์ในปัจจุบัน ที่ไม่มุ่งหวังแต่รายได้ ทำให้ไม่น่าแปลกใจที่ในสมาร์ทโฟนของคนส่วนใหญ่ จะมีโปรแกรมนี้บรรจุอยู่แทบจะ 100 %

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

ทศนิยมและการบวกลบทศนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1

ทศนิยมและการบวกลบทศนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1
                                               
ทศนิยม
การบอกปริมาณของสิ่งของหรือจำนวนในชีวิตประจำวัน เช่น ความกว้าง ความยาว น้ำหนัก
อุณหภูมิของอากาศ การคิดภาษี ฯลฯ บางครั้งไม่สามารถบอกปริมาณที่แท้จริงเป็นจำนวนเต็มได้ เนื่องจาก
การใช้หน่วยที่เป็นจำนวนเต็มอย่างเดียวไม่เพียงพอ ยังมีปริมาณที่เป็นเศษของหน่วยหรือไม่เต็มหน่วย จึงต้องมีการเขียนตัวเลขแทนปริมาณเหล่านั้นอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า ทศนิยม ซึ่งมีการตกลงที่เป็นสากล ดังนี้
 การเขียนทศนิยม ใช้ “ . ” เรียกว่า จุดทศนิยม คั่นระหว่างจำนวนนับกับเศษของหน่วย เช่น
3 . 1 2
                                12 =เศษของหน่วย
                                . =จุดทศนิยม
                                3 =จำนวนนับ
การอ่านทศนิยม
ตัวเลขหน้าจุดทศนิยมอ่านแบบจำนวนนับ ตัวเลขหลังจุดทศนิยมอ่านแบบเรียงตัว เช่น
                0.02 อ่านว่า ศูนย์จุดศูนย์สอง
               1.50 อ่านว่า หนึ่งจุดห้าศูนย์
               12.235 อ่านว่า สิบสองจุดสองสามห้า
ทศนิยมและการเปรียบเทียบทศนิยม
ความรู้เกี่ยวกับทศนิยมได้ถูกนา มาใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 15 โดยนัก
คณิตศาสตร์ 3 ท่านคือ Francois Vieta, Simon Steven และ Neper John Napier (..1550 - 1617)
โดยได้นา ทศนิยมมาใช้อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการวัดความยาว การคิดคา นวณสา หรับการสร้าง
บ้านเรือน การคิดราคาสินค้า และการคิดภาษี เป็นต้น เพราะการใช้หน่วยที่เป็นจา นวนเต็มนั้นไม่
เพียงพอ การใช้หน่วยเล็ก ๆ เป็นสิ่งจา เป็น ทา ให้ได้ความละเอียดในการวัดและการคิดคา นวณมากขึ้น
ดังนั้นจึงมีการนา ทศนิยมมาใช้ ดังจะเห็นได้จากระบบเมตริก และในปัจจุบันนักเรียนได้เริ่มเรียน
เกี่ยวกับทศนิยมตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3นักเรียน มักพบเห็น เกี่ยวกับการใช้ตัวเลขที่ อยู่ในรูป ทศนิยม อยู่เสมอ ในชีวิตประจำวัน

ตัวอย่าง
น้ำ มันเบนซินธรรมดาราคาลิตรละ 29 บาท 59 สตางค์ แทนด้วย 29.59 บาท
ปลาทับทิมตัวหนึ่งหนัก 1 กิโลกรัม 4 ขีด แทนด้วย 1.4 กิโลกรัม
 แบงค์หนัก 48 กิโลกรัม 40 กรัม แทนด้วย 48.40 กิโลกรัม
1. การเปรียบเทียบทศนิยมการเปรียบเทียบทศนิยมที่เป็นบวกสองจานวนใด ๆ
ให้พิจารณาเลขโดดคู่แรกในตำแหน่งเดียวกันที่ไม่เท่ากัน จำนวนที่มีเลขโดดในตำแหน่งนั้น มากกว่าจะเป็นจำนวนที่มากกว่า เช่น
1) ต้องการเปรียบเทียบ 8.34 กับ 1.35 เนื่องจากเลขโดดคู่แรกในตำแหน่งเดียวกันที่ไม่เท่ากัน คือ เลขโดในหลักหน่วย ได้แก่ 8 และ 1 ซึ่ง 8 > 1 ดังนั้น 8.34 > 1.35
2) ต้องการเปรียบเทียบ 9.31 กับ 9.72 เนื่องจาก เลขโดดคู่แรกเป็นจานวนเต็ม คือ 9 เท่ากัน จึงพิจารณาเลขโดดคู่แรกในตำแหน่งเดียวกันที่ไม่เท่ากัน คือ เลขโดดในทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่ง ได้แก่ 3 และ 7 ซึ่ง 3 < 7
ดังนั้น 9.31 < 9.72
3) ต้องการเปรียบเทียบ 0.567 กับ 0.569 เนื่องจากเลขโดดคู่แรกในตำแหน่งเดียวกันที่ไม่เท่ากัน คือ เลขโดดในทศนิยมตำแหน่งที่สาม ได้แก่ 7 กับ 9 ซึ่ง 7 น้อยกว่า 9 ดังนั้น 0.567 < 0.569
2. การเปรียบเทียบทศนิยมที่เป็นลบสองจานวนใด ๆ
ให้พิจารณาเช่นเดียวกับทศนิยมที่เป็นบวก โดยหาค่าสัมบูรณ์ของทศนิยมที่เป็นลบทั้ง สองจานวน ซึ่งจานวนที่มีค่าสัมบูรณ์น้อยกว่า จะเป็นจานวนที่มีค่ามากกว่า เช่น
1) ต้องการเปรียบเทียบ -0.83 กับ -0.85 เนื่องจากค่าสัมบูรณ์ของ -0.83 เท่ากับ 0.83 และค่าสัมบูรณ์ของ -0.85 เท่ากับ 0.85 และ 0.83 < 0.85 ดังนั้น -0.83 > -0.85
2) ต้องการเปรียบเทียบ -6.43 กับ -2.55 เนื่องจากค่าสัมบูรณ์ของ -6.43 เท่ากับ 6.43 และค่าสัมบูรณ์ของ -2.55 เท่ากับ 2.55 และ 6.43 > 2.55 ดังนั้น -6.43 < -2.55
3. การเปรียบเทียบทศนิยมที่เป็นบวกและทศนิยมที่เป็นลบ
เนื่องจากทศนิยมที่เป็นบวกอยู่ทางขวาของ 0 และทศนิยมที่เป็นลบอยู่ทางซ้ายของ 0 ดังนั้นทศนิยมที่เป็นบวกย่อมมีค่ามากกว่าทศนิยมที่เป็นลบ เช่น 0.003 > -4.23, 0.157 > -2.33
การบวกทศนิยม
                 นักเรียนเคยศึกษามาแล้วว่า การบวกทศนิยมที่เป็นบวกว่ามีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับการบวก จา นวนนับ คือจะต้องจัดเลขโดดที่อยู่ในหลักเดียวกันหรือตา แหน่งเดียวกันให้ตรงกันเสมอ แล้วจึง บวกกัน หรืออาจกล่าวได้ว่าให้จัดทศนิ ยมที่เป็นตัวตั้งและทศนิยมที่เป็นตัวบวกให้จุดทศนิยมตรงกัน ถ้าเป็นทศนิยมที่มีตา แหน่งทศนิยมไม่เท่ากัน อาจใส่เลข 0 หลังตัวเลขตัวสุดท้ายของทศนิยมนั้น ๆ เพื่อให้มีตา แหน่งทศนิยมเท่ากันก็ได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 1 จงหาผลบวก 24.37 + 31.541
วิธีทา 24.37 + 31.541 = 24.370 + 31.541
                                      24.370 +
                                      31.541
                                      55.911      
ตอบ 55.911
ตัวอย่างที่ 2 จงหาผลบวก 15.1 + 38.06
วิธีทา 15.1 + 38.06 = 15.10 + 38.06
                                                ............................. +



                                                          
ตอบ ………………

                           การบวกทศนิยมที่เป็นบวกด้วยทศนิยมที่เป็นบวกให้นำค่าสัมบูรณ์
                           ของ แต่ละจำนวนมาบวกกันแล้วตอบเป็น จำนวนบวก

ตัวอย่างที่ 3 จงหาผลบวก (-3.79) + (-9.32)
วิธีทา                        -3.79 +
                                                 -9.32
                              -13.11
ตอบ -13.11
ตัวอย่างที่ 4 จงหาผลบวก (-0.37) + (-1.4)
วิธีทา (-0.37) + (-1.4) = (-0.37) + (-1.40)
                                                ............................. +
                                               
                                                       

ตอบ ………………
 การบวกทศนิยมที่เป็นลบด้วยทศนิยมที่เป็นลบให้นำค่าสัมบูรณ์
  ของแต่ละจำนวนมาบวกกันแล้วตอบเป็นจำนวนลบ
ตัวอย่างที่ 5 จงหาผลบวก 3.6 + (-0.735)
วิธีทา 3.6 + (-0.735) = 3.600 + (-0.735)
                                                3.600 +
                                                -0.735
                              2.865
ตอบ 2.865
ตัวอย่างที่ 6 จงหาผลบวก (-9.47) + 7.75
วิธีทา                       -9.47 +
                                                 7.75                       
                              -1.72
ตอบ -1.72


               การบวกระหว่างทศนิยมที่เป็นบวกกับทศนิยมที่เป็นลบ
               ให้นำค่าสัมบูรณ์ที่มากกว่าลบด้วยค่าสัมบูรณ์ที่น้อยกว่า
               แล้วตอบเป็นจำนวนบวกหรือจำนวนลบตาม จำนวนที่มีค่า

การลบทศนิยม
การหาผลลบของทศนิยมใด ๆ ว่าใช้ข้อตกลงเดียวกัน การหาผลลบของจำนวนเต็ม ดังนี้

ตัวตั้งตัวลบ = ตัวตั้ง + จานวนตรงข้ามของตัวลบ

เมื่อ a และ b แทนทศนิยมใด ๆ
a - b = a + จำนวนตรงข้ามของ b
หรือ a - b = a + (-b)
เช่น        3.76 - 2.55 = 3.76 + (-2.55)
                (-7.92) -  4.07 = (-7.92) + (-4.07)
                (-12.43) -  (-10.71) = (-12.43) + 10.71
                88.75 -  (-46.39) = 88.75 + 46.39
เมื่อเขียนการลบให้อยู่ในรูปการบวกแล้วจึงหาผลบวกของทศนิยม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 8 จงหาผลลบ 3.76 - 2.55
วิธีทา 3.76 - 2.55 = 3.76 + (-2.55)
                                                3.76 +
                                                -2.55
                                                1.21
ตอบ 1.21
ตัวอย่างที่ 9 จงหาผลบวก (-7.92) -  4.07
วิธีทา (-7.92) - 4.07 = (-7.92) + (-4.07)
                                - 7.92 +
                                 - 4.07
                                 -11.99
ตอบ -11.99
ตัวอย่างที่ 10 จงหาผลบวก (-12.43) (-10.71)
วิธีทา (-12.43) (-10.71) = (-12.43) + 10.71
                                                .............................
                                                        +
                                                       
                                                       
ตอบ ………………

8.แนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้

8.แนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้
ในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันมีการใช้เท๕โนโลยีทางการศึกษามาช่วยในการจัดการศึกษาเป็นอย่างมาก มีโปรแกรมต่างๆเกิดขึ้มากมาย เช่น GSP,SPSS , E-book , Power point ซึ่งแนวคิดเหล่านี้เราอาจมาจัดทำการเรียนการสอนในวิชา ทศนิยมและการบวกลบทศนิยมในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นวิธีการนำเสนอด้วย Power point  E-Book โดยมีจุดประสงค์การเรียนรู้ดังนี้
1.ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
1.1 ความหมาย การอ่านและการเขียนทศนิยม
1.2 หลัก ค่าประจำหลัก และค่าของเลขโดดในแต่ละหลัก และการเขียนในรูปกระจาย
1.3 การเปรียบเทียบทศนิยม
1.4 ทศนิยมกับการนำไปใช้
1.5 การบวกทศนิยม
1.6 การลบทศนิยม
2. ได้แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องทศนิยม และการบวก ลบทศนิยม