วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

ทศนิยมและการบวกลบทศนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1

ทศนิยมและการบวกลบทศนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1
                                               
ทศนิยม
การบอกปริมาณของสิ่งของหรือจำนวนในชีวิตประจำวัน เช่น ความกว้าง ความยาว น้ำหนัก
อุณหภูมิของอากาศ การคิดภาษี ฯลฯ บางครั้งไม่สามารถบอกปริมาณที่แท้จริงเป็นจำนวนเต็มได้ เนื่องจาก
การใช้หน่วยที่เป็นจำนวนเต็มอย่างเดียวไม่เพียงพอ ยังมีปริมาณที่เป็นเศษของหน่วยหรือไม่เต็มหน่วย จึงต้องมีการเขียนตัวเลขแทนปริมาณเหล่านั้นอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า ทศนิยม ซึ่งมีการตกลงที่เป็นสากล ดังนี้
 การเขียนทศนิยม ใช้ “ . ” เรียกว่า จุดทศนิยม คั่นระหว่างจำนวนนับกับเศษของหน่วย เช่น
3 . 1 2
                                12 =เศษของหน่วย
                                . =จุดทศนิยม
                                3 =จำนวนนับ
การอ่านทศนิยม
ตัวเลขหน้าจุดทศนิยมอ่านแบบจำนวนนับ ตัวเลขหลังจุดทศนิยมอ่านแบบเรียงตัว เช่น
                0.02 อ่านว่า ศูนย์จุดศูนย์สอง
               1.50 อ่านว่า หนึ่งจุดห้าศูนย์
               12.235 อ่านว่า สิบสองจุดสองสามห้า
ทศนิยมและการเปรียบเทียบทศนิยม
ความรู้เกี่ยวกับทศนิยมได้ถูกนา มาใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 15 โดยนัก
คณิตศาสตร์ 3 ท่านคือ Francois Vieta, Simon Steven และ Neper John Napier (..1550 - 1617)
โดยได้นา ทศนิยมมาใช้อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการวัดความยาว การคิดคา นวณสา หรับการสร้าง
บ้านเรือน การคิดราคาสินค้า และการคิดภาษี เป็นต้น เพราะการใช้หน่วยที่เป็นจา นวนเต็มนั้นไม่
เพียงพอ การใช้หน่วยเล็ก ๆ เป็นสิ่งจา เป็น ทา ให้ได้ความละเอียดในการวัดและการคิดคา นวณมากขึ้น
ดังนั้นจึงมีการนา ทศนิยมมาใช้ ดังจะเห็นได้จากระบบเมตริก และในปัจจุบันนักเรียนได้เริ่มเรียน
เกี่ยวกับทศนิยมตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3นักเรียน มักพบเห็น เกี่ยวกับการใช้ตัวเลขที่ อยู่ในรูป ทศนิยม อยู่เสมอ ในชีวิตประจำวัน

ตัวอย่าง
น้ำ มันเบนซินธรรมดาราคาลิตรละ 29 บาท 59 สตางค์ แทนด้วย 29.59 บาท
ปลาทับทิมตัวหนึ่งหนัก 1 กิโลกรัม 4 ขีด แทนด้วย 1.4 กิโลกรัม
 แบงค์หนัก 48 กิโลกรัม 40 กรัม แทนด้วย 48.40 กิโลกรัม
1. การเปรียบเทียบทศนิยมการเปรียบเทียบทศนิยมที่เป็นบวกสองจานวนใด ๆ
ให้พิจารณาเลขโดดคู่แรกในตำแหน่งเดียวกันที่ไม่เท่ากัน จำนวนที่มีเลขโดดในตำแหน่งนั้น มากกว่าจะเป็นจำนวนที่มากกว่า เช่น
1) ต้องการเปรียบเทียบ 8.34 กับ 1.35 เนื่องจากเลขโดดคู่แรกในตำแหน่งเดียวกันที่ไม่เท่ากัน คือ เลขโดในหลักหน่วย ได้แก่ 8 และ 1 ซึ่ง 8 > 1 ดังนั้น 8.34 > 1.35
2) ต้องการเปรียบเทียบ 9.31 กับ 9.72 เนื่องจาก เลขโดดคู่แรกเป็นจานวนเต็ม คือ 9 เท่ากัน จึงพิจารณาเลขโดดคู่แรกในตำแหน่งเดียวกันที่ไม่เท่ากัน คือ เลขโดดในทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่ง ได้แก่ 3 และ 7 ซึ่ง 3 < 7
ดังนั้น 9.31 < 9.72
3) ต้องการเปรียบเทียบ 0.567 กับ 0.569 เนื่องจากเลขโดดคู่แรกในตำแหน่งเดียวกันที่ไม่เท่ากัน คือ เลขโดดในทศนิยมตำแหน่งที่สาม ได้แก่ 7 กับ 9 ซึ่ง 7 น้อยกว่า 9 ดังนั้น 0.567 < 0.569
2. การเปรียบเทียบทศนิยมที่เป็นลบสองจานวนใด ๆ
ให้พิจารณาเช่นเดียวกับทศนิยมที่เป็นบวก โดยหาค่าสัมบูรณ์ของทศนิยมที่เป็นลบทั้ง สองจานวน ซึ่งจานวนที่มีค่าสัมบูรณ์น้อยกว่า จะเป็นจานวนที่มีค่ามากกว่า เช่น
1) ต้องการเปรียบเทียบ -0.83 กับ -0.85 เนื่องจากค่าสัมบูรณ์ของ -0.83 เท่ากับ 0.83 และค่าสัมบูรณ์ของ -0.85 เท่ากับ 0.85 และ 0.83 < 0.85 ดังนั้น -0.83 > -0.85
2) ต้องการเปรียบเทียบ -6.43 กับ -2.55 เนื่องจากค่าสัมบูรณ์ของ -6.43 เท่ากับ 6.43 และค่าสัมบูรณ์ของ -2.55 เท่ากับ 2.55 และ 6.43 > 2.55 ดังนั้น -6.43 < -2.55
3. การเปรียบเทียบทศนิยมที่เป็นบวกและทศนิยมที่เป็นลบ
เนื่องจากทศนิยมที่เป็นบวกอยู่ทางขวาของ 0 และทศนิยมที่เป็นลบอยู่ทางซ้ายของ 0 ดังนั้นทศนิยมที่เป็นบวกย่อมมีค่ามากกว่าทศนิยมที่เป็นลบ เช่น 0.003 > -4.23, 0.157 > -2.33
การบวกทศนิยม
                 นักเรียนเคยศึกษามาแล้วว่า การบวกทศนิยมที่เป็นบวกว่ามีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับการบวก จา นวนนับ คือจะต้องจัดเลขโดดที่อยู่ในหลักเดียวกันหรือตา แหน่งเดียวกันให้ตรงกันเสมอ แล้วจึง บวกกัน หรืออาจกล่าวได้ว่าให้จัดทศนิ ยมที่เป็นตัวตั้งและทศนิยมที่เป็นตัวบวกให้จุดทศนิยมตรงกัน ถ้าเป็นทศนิยมที่มีตา แหน่งทศนิยมไม่เท่ากัน อาจใส่เลข 0 หลังตัวเลขตัวสุดท้ายของทศนิยมนั้น ๆ เพื่อให้มีตา แหน่งทศนิยมเท่ากันก็ได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 1 จงหาผลบวก 24.37 + 31.541
วิธีทา 24.37 + 31.541 = 24.370 + 31.541
                                      24.370 +
                                      31.541
                                      55.911      
ตอบ 55.911
ตัวอย่างที่ 2 จงหาผลบวก 15.1 + 38.06
วิธีทา 15.1 + 38.06 = 15.10 + 38.06
                                                ............................. +



                                                          
ตอบ ………………

                           การบวกทศนิยมที่เป็นบวกด้วยทศนิยมที่เป็นบวกให้นำค่าสัมบูรณ์
                           ของ แต่ละจำนวนมาบวกกันแล้วตอบเป็น จำนวนบวก

ตัวอย่างที่ 3 จงหาผลบวก (-3.79) + (-9.32)
วิธีทา                        -3.79 +
                                                 -9.32
                              -13.11
ตอบ -13.11
ตัวอย่างที่ 4 จงหาผลบวก (-0.37) + (-1.4)
วิธีทา (-0.37) + (-1.4) = (-0.37) + (-1.40)
                                                ............................. +
                                               
                                                       

ตอบ ………………
 การบวกทศนิยมที่เป็นลบด้วยทศนิยมที่เป็นลบให้นำค่าสัมบูรณ์
  ของแต่ละจำนวนมาบวกกันแล้วตอบเป็นจำนวนลบ
ตัวอย่างที่ 5 จงหาผลบวก 3.6 + (-0.735)
วิธีทา 3.6 + (-0.735) = 3.600 + (-0.735)
                                                3.600 +
                                                -0.735
                              2.865
ตอบ 2.865
ตัวอย่างที่ 6 จงหาผลบวก (-9.47) + 7.75
วิธีทา                       -9.47 +
                                                 7.75                       
                              -1.72
ตอบ -1.72


               การบวกระหว่างทศนิยมที่เป็นบวกกับทศนิยมที่เป็นลบ
               ให้นำค่าสัมบูรณ์ที่มากกว่าลบด้วยค่าสัมบูรณ์ที่น้อยกว่า
               แล้วตอบเป็นจำนวนบวกหรือจำนวนลบตาม จำนวนที่มีค่า

การลบทศนิยม
การหาผลลบของทศนิยมใด ๆ ว่าใช้ข้อตกลงเดียวกัน การหาผลลบของจำนวนเต็ม ดังนี้

ตัวตั้งตัวลบ = ตัวตั้ง + จานวนตรงข้ามของตัวลบ

เมื่อ a และ b แทนทศนิยมใด ๆ
a - b = a + จำนวนตรงข้ามของ b
หรือ a - b = a + (-b)
เช่น        3.76 - 2.55 = 3.76 + (-2.55)
                (-7.92) -  4.07 = (-7.92) + (-4.07)
                (-12.43) -  (-10.71) = (-12.43) + 10.71
                88.75 -  (-46.39) = 88.75 + 46.39
เมื่อเขียนการลบให้อยู่ในรูปการบวกแล้วจึงหาผลบวกของทศนิยม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 8 จงหาผลลบ 3.76 - 2.55
วิธีทา 3.76 - 2.55 = 3.76 + (-2.55)
                                                3.76 +
                                                -2.55
                                                1.21
ตอบ 1.21
ตัวอย่างที่ 9 จงหาผลบวก (-7.92) -  4.07
วิธีทา (-7.92) - 4.07 = (-7.92) + (-4.07)
                                - 7.92 +
                                 - 4.07
                                 -11.99
ตอบ -11.99
ตัวอย่างที่ 10 จงหาผลบวก (-12.43) (-10.71)
วิธีทา (-12.43) (-10.71) = (-12.43) + 10.71
                                                .............................
                                                        +
                                                       
                                                       
ตอบ ………………

8.แนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้

8.แนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้
ในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันมีการใช้เท๕โนโลยีทางการศึกษามาช่วยในการจัดการศึกษาเป็นอย่างมาก มีโปรแกรมต่างๆเกิดขึ้มากมาย เช่น GSP,SPSS , E-book , Power point ซึ่งแนวคิดเหล่านี้เราอาจมาจัดทำการเรียนการสอนในวิชา ทศนิยมและการบวกลบทศนิยมในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นวิธีการนำเสนอด้วย Power point  E-Book โดยมีจุดประสงค์การเรียนรู้ดังนี้
1.ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
1.1 ความหมาย การอ่านและการเขียนทศนิยม
1.2 หลัก ค่าประจำหลัก และค่าของเลขโดดในแต่ละหลัก และการเขียนในรูปกระจาย
1.3 การเปรียบเทียบทศนิยม
1.4 ทศนิยมกับการนำไปใช้
1.5 การบวกทศนิยม
1.6 การลบทศนิยม
2. ได้แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องทศนิยม และการบวก ลบทศนิยม


7. รูปแบบสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนความหมายของสื่อหลายมิติ

7. รูปแบบสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนความหมายของสื่อหลายมิติ
- ( images.minint.multiply.multiplycontent.com/)สื่อหลายมิติ  คือ  การเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับ
สารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ที่สื่อเสนอได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็ว ซึ่ง “สื่อหลายมิติ” (Hypermedia) นี้ได้พัฒนามาจาก ข้อความหลายมิติ” (Hypertext) ซึ่งเป็นการเสนอเพียงข้อความตัวอักษร ภาพกราฟิกและเสียงที่มีมาแต่เดิม จากความหมายและลักษณะของสื่อหลายมิติที่ได้ทราบไปแล้วนั้นว่าจะเสนอข้อมูลในลักษณะตัวอักษร ภาพกราฟิกอย่างง่ายๆ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาข้อความหลายมิติให้สามารถบรรจุข้อมูลได้หลากหลายประเภทขึ้นจึงได้ชื่อว่าเป็น “ไฮเปอร์มีเดีย” (Hypermedia)  หรือตามศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานว่า “สื่อหลายมิติ”
   
          สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกรกฟิกที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิม (กิดานันท์  มลิทอง.  2540: 269)
 
                สื่อหลายมิติ (Hypermedia)  เป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสมอื่นๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่างๆ ได้ทั้ง ข้อความ  เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว (น้ำทิพย์  วิภาวิน, 2542 : 53)  Hypermedia  เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext  อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน (วิเศษศักดิ์  โคตรอาชา และคณะ , 2542 : 53)
-(http://www.edtechno.com/site/index.php?option-com_content&view)
       รูปแบบของสื่อหลายมิติในการสอนประกอบด้วยอะไร
มีการสำสื่อหลายมิติเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนในรูปของบทเรียนหลายมิติขึ้นโดยการผลิตเนื้อหาหรือเรื่องราวต่างๆ ที่จะใช้สอนในลักษณะสื่อหลายมิติ โดยการใช้ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวและเสียงต่างๆ บรรจุลงไปในบทเรียนหลายมิติ
    ประโยชน์และลักษณะของบทเรียนหลายมิติ
1)  เรียกดูความหมายของคำศัพท์
2)  ขยายความเข้าใจ เนื้อหาโดย ดูแผนภาพ หรือภาพวาด ภาพถ่าย ฟังคำอธิบาย ฟังเสียงดนตรี เป็นต้น
3)  ใช้สมุดบันทึกที่มีอยู่ในโปรแกรมบันทึกใจความสำคัญ
4)  ใช้เครื่องมือวาดภาพในโปรแกรมวาดแผนที่มโนทัศน์ของตน
5)  สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ที่สนใจมาอ่านได้โดยสะดวก
6)  ใช้แผนที่ระบบดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ส่วนใดของบทเรียน
         สื่อหลายมิติแบบปรับตัว หมายถึง ความสัมพันธ์กันระหว่างสื่อหลายมติติกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งปกติสื่อหลายมิติจะนำเสนอข้อมูลสารสนเทศที่เป็นเนื้อหา ลิงค์ หรืออื่นๆ ที่ออกแบบสำหรับผู้เรียนทุกคน แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้เรียนแต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกันในการรับข้อมูลจากสื่อหลายมติ ดังนั้นสื่อหลายมิติแบบปรับตัว จึงเป็นการผสมผสานระหว่างสื่อหลายมติและระบบการสอนที่ฉลาดในการตอบสนองผู้เรียนแต่ละคน โดยสื่อหลายมติแบบปรับตัวเป็นการพยายามที่จะพัฒนารูปแบบให้สามารถปรับตัวและตอบสนองผู้เรียนเป็นรายบุคคล

-(http://www.gotoknow.org/blog/429502-52920126/281932)สื่อหลายมิติ Hypermedia จึงเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้ผู้รับสามารถรับข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบต่างๆที่มีความสามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็วและเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหว วีดีทัศน์ ภาพกราฟิก ภาพนิ่ง ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูดเสียงดนตรีเข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่างๆได้หลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิมจากความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วนี้เอง จึงได้มีการนำมาปรับใช้ในการศึกษาที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดความสนใจในบทเรียนจากสื่อหลายมิติ และผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความต้องการและตามศักยภาพ โดยสถาบันการศึกษาหลายแห่งมีการใช้สื่อหลายมิติในการเรียนการสอนในระดับชั้นและวิชาเรียนต่างๆแล้วในปัจจุบัน
      ปัจจุบันสื่อหลายมิติได้มีการพัฒนาโดยผสมผสานเทคนิคและเทคโนโลยีที่ทันสมัยไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้แนวทางในการพัฒนาสื่อหลายมิติ โดยทั่วไปนั้น ส่วนใหญ่เป็นการผสมผสานสื่อหลากหลายชนิดและเชื่อมโยงไปสู่แหล่งข้อมูลอื่นที่น่าสนใจ ซึ่งไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ จนกระทั่งเกิดการค้นหาวิธีและพัฒนาไปสู่แนวทางใหม่ของสื่อหลายมิติ ที่เรียกว่า สื่อหลายมิติแบบปรับตัว หมายถึง ความสัมพันธ์กันระหว่างสื่อหลายมิติกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งปกติสื่อหลายมิติจะนำเสนอข้อมูลสารสนเทศที่เป็นเนื้อหา ลิงค์ หรือสื่ออื่นๆที่ออกแบบสำหรับผู้เรียนทุกคนแต่ในความเป็นจริงแล้วผู้เรียนแต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกันในการรับข้อมูลจากสื่อหลายมิติ ดังนั้นสื่อหลายมิติแบบปรับตัว จึงเป็นการผสมผสานระหว่างสื่อหลายมิติและระบบการสอนที่ฉลาดในการตอบสนองผู้เรียนแต่ละคน โดยสื่อหลายมิติแบบปรับตัวเป็นการพยายามที่จะพัฒนารูปแบบให้สามารถปรับตัวและตอบสนองผู้เรียนเป็นรายบุคคล เช่นระบบจะเลือกข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียนแต่ละคนในแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่ เช่น ความรู้ ประสบการณ์รูปแบบการเรียนรู้ หรือข้อมูลอ้างอิงอื่นๆ และสามารถปรับเปลี่ยนระบบให้ตอบสนองตรงตามความต้องการสำหรับผู้เรียนแต่ละคน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถค้นหาข้อมูลสารสนเทศตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ทั้งนี้สื่อหลายมิติที่ได้รับการออกแบบอย่างถูกต้องและเป็นระบบจะช่วยตอบสนองให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามความสามารถ และความต้องการของผู้เรียน เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบรายบุคคลและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามศักยภาพได้ โดยแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบหลัก คือ 1. รูปแบบหลัก 2. รูปแบบผู้เรียน 3. รูปแบบการปรับตัว โดยผ่านการติดต่อระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์หรือระบบผ่านแบบฟอร์มจากเว็บบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer
สรุป สื่อหลายมิติ คือ การเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ที่สื่อเสนอได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็ว  ในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ ภาพกรกฟิกที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย  จะทำให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิม 
เอกสารอ้างอิง
      http://www.images.minint.multiply.multiplycontent.com/:
เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม
     http://www.edtechno.com/site/index.php?option-com_content&view:
เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม
    http://www.gotoknow.org/blog/429502-52920126/281932:
เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม

6. สื่อการสอน

6. สื่อการสอน
images.s4920117113s.multiply.multiplycontent.com/.../สื่อการสอนคืออะ... ได้รวบรวมแล้วกล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้
     ประเภทของสื่อการสอน         
           1. วัสดุที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ ของจริง ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง แผนที่ กระดาษสาธิต ลูกโลก กระดานชอล์ค กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก การแสดงบทบาท นิทรรศการ การสาธิต และการทดลองเป็นต้น
          2. วัสดุฉายและเครื่องฉาย ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใส ภาพทึบ ภาพยนตร์ และเครื่องฉายต่าง ๆ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ และฟิล์มสตริป เครื่องฉายกระจกภาพ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ เป็นต้น
          3. โสตวัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ แผ่นเสียง เครื่องเล่นจานเสียง เทป เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง และวิทยุ เป็นต้น

(http://reg.ksu.ac.th/teacher/sudatip/Elearning_files/data2.html) ได้รวบรวมแล้วกล่าวว่า สื่อการสอน (Instruction Media) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการใด ๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลาง หรือพาหะในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษและมีคุณค่าในตัวของมันเองในการเก็บและแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาและเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ
     ประเภทของสื่อการสอน          สื่อการสอนแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
               1. วัสดุ (Materials) เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบา บางทีเรียกว่า Soft Ware สื่อประเภทนี้ผุพังได้ง่าย เช่น
                    1.1 แผนภูมิ (Charts)
                    1.2 แผนภาพ (Diagrams)
                    1.3 ภาพถ่าย (Poster)
                    1.4 โปสเตอร์ (Drawing)
                    1.5 ภาพเขียน (Drawing)
                    1.6 ภาพโปร่งใส (Transparencies)
                    1.7 ฟิล์มสตริป (Filmstrip)
                    1.8 แถบเทปบันทึกภาพ (Video Tapes)
                    1.9 เทปเสียง (Tapes) ฯลฯ
               2. อุปกรณ์ (Equipment) เป็นสื่อใหญ่หรือหนัก บางทีเรียกว่า สื่อ Hardware สื่อประเภทนี้ ได้แก่
                    2.1 เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projectors)
                    2.2 เครื่องฉายสไลค์ (Slide Projectors)
                    2.3 เครื่องฉายภาพยนตร์ (Motion Picture Projectors)
                    2.4 เครื่องเทปบันทึกเสียง (Tape Receivers)
                    2.5 เครื่องรับวิทยุ (Radio Receivers)
                    2.6 เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receivers)
               3. วิธีการ เทคนิค หรือกิจกรรม (Method Technique or Activities) ได้แก่
                    3.1 บทบาทสมมุติ (Role Playing)
                    3.2 สถานการณ์จำลอง (Simulation)
                    3.3 การสาธิต (Demonstration)
                    3.4 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips)
                    3.5 การจัดนิทรรศการ (Exhibition)
                    3.6 กระบะทราย (Sand Trays)

(images.destruction127.multiply.multiplycontent.com/.../งานส่ง.doc?key...) ได้รวบรวมแล้วกล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง วัสดุอุปกรณ์ วิธีการต่างๆ ที่ใช้เป็นสื่อกลางระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ในการถ่ายทอดความรู้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
     ดังนั้น สื่อการสอนจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเรียนการสอน ซึ่งแต่เดิมสื่อการสอนถูกเรียกว่า โสตทัศนูปกรณ์
     สื่อการศึกษาออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
          1. เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ โดยเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการส่งสาร หรือส่งสื่อ ซึ่งเครื่องมือ หรืออุปกรณ์นี้ จำเป็นต้องมี ส่วนประกอบที่เรียกว่า soft ware เพื่อนำข้อมูลในวัสดุ ส่งไปยังผู้รับ
          2. วัสดุ (soft ware) เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบา ทำหน้าที่คือ การเก็บสารไว้ในตัว เพื่อใช้ประกอบกับเครื่องมือ หรืออุปกรณ์เพื่อใช้ในการส่งสาร หรือบางครั้ง ก็สามารถส่งสารด้วยตัวของมันเอง
          3. เทคนิค หรือวิธีการ เป็นการกระทำที่อยู่ในรูปแบบของการปฏิบัติ อาจจะใช้วัสดุเครื่องมือ หรือไม่ใช้ก็ได้ เทคนิคที่จัดว่าเป็นสื่อการสอนเช่น การแสดงนาฏการ การสาธิต การบรรยาย เป็นต้น

สรุปสื่อการสอน คือ ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

เอกสารอ้างอิง
URL:images.s4920117113s.multiply.multiplycontent.com/.../สื่อการสอนคืออะ....เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2554
URL:http://reg.ksu.ac.th/teacher/sudatip/Elearning_files/data2.html.เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2554
URL:images.destruction127.multiply.multiplycontent.com/.../งานส่ง.doc?key....เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2554

5. เทคโนโลยีสารสนเทศ ลักษณะสำคัญ และบทบาทในการศึกษา

5. เทคโนโลยีสารสนเทศ ลักษณะสำคัญ และบทบาทในการศึกษา
(http://www.kmitl.ac.th/agritech/nutthakorn/04093009_2204/isweb/Lesson%2022.htm) ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ Information Technology หรือ IT คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บ ประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วย
1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)
2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล เป็นต้น

§  เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น ทำให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพ ในระบบการจัดการทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและการตัดสินใจ ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทำงาน เช่น ใช้ในระบบจัดเก็บเงินสด จองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
§  เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมุลผ่านทางโทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้
§  เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใข้ในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี ในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
§  เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ เป็นต้น
            บทบาทในการศึกษา สามารถอธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้
ประการที่หนึ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ 
ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์ 
ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว 
ประการที่สี่ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
ประการที่หก เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น 
           
 (http://www.pbps.ac.th/e_learning/combasic/information1.html) คำว่าเทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นคำที่มีความหมายกว้างไกล เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดมา ลองนึกดูว่าทรายที่เราเห็นอยู่บนพื้นดิน ตามชายหาด ชายทะเลเป็นสารประกอบของซิลิกอน ทรายเหล่านั้นมีราคาต่ำและเรามองข้ามไป ครั้งมีบางคนที่เรียนรู้วิธีการแยกสกัดเอาสารซิลิกอนให้บริสุทธิ์ และเจือสารบางอย่างให้เกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่าสารกึ่งตัวนำ นำมาผลิตเป็นทรานซิสเตอร์ และไอซี (Integrated Circuit : IC) ไอซีนี้เป็นอุปกรณ์ที่รวมวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากไว้ด้วยกัน ใช้เป็นชิพซึ่งเป็นส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ สารซิลิกอนดังกล่าวเมื่อผ่านกรรมวิธีทางเทคโนโลยีแล้วจะมีราคาสูงสามารถนำมาขายได้เงินเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเป็นหัวใจของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพราะเรานำเอาวัตถุดิบมาผ่านเทคนิคการดำเนินการ จะได้วัตถุสำเร็จรูป สินค้าเหล่านี้จะมีมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบนั้นมาก ประเทศใดมีเทคโนโลยีมากมักจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เทคโนโลยีจึงเป็นหาทางที่จะช่วยในการพัฒนาให้สินค้าและบริการมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทุกประเทศจึงให้ความสำคัญของการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยงานด้านต่าง ๆ
                ส่วนคำว่าสารสนเทศ หมายถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่ กฎเกณฑ์และวิชาการ ลองจินตนาการดูว่าภายในสมองของเราเก็บข้อมูลอะไรบ้าง เราคงตอบไม่ได้ แต่สามารถเรียกเอาข้อมูลมาใช้ได้ ข้อมูลที่เก็บไว้ในสมองเป็นสิ่งที่สะสมกันมาเป็นเวลานาน ความรอบรู้ของแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ดังนั้นจะเห็นได้ชัดความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทุกวันนี้มีข้อมูลรอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ
           ภายในสมองมนุษย์ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลไว้มากมายจะมีข้อจำกัดในการจัดเก็บ การเรียกใช้ การประมวลผล และการคิดคำนวณ ดังนั้นจึงมีผู้พยายามสร้างเครื่องจักรเครื่องมือ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำได้มาก สามารถให้ข้อมูลได้แม่นยำและถูกต้องเมื่อมีการเรียกค้นหา ทำงานได้ตลอดวันไม่เหน็ดเหนื่อย และยังส่งข้อมูลไปได้ไกลและรวดเร็วมาก เครื่องจักรอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับสารสนเทศนั้นมีมากมายตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้าง ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ ทำให้เกิดงานบริการที่อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การฝากถอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็ม (Automatic Teller Machine : ATM) การจองตั๋วดูภาพยนตร์ การลงทะเบียนเรียนในโรงเรียน
                เมื่อรวมคำว่าเทคโนโลยีกับสารสนเทศเข้าด้วยกัน จึงหมายถึงเทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศจะรวมไปถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล
เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความหมายที่กว้างขวางมากนักเรียนจะได้พบกับสิ่งรอบๆตัวที่เกี่ยวกับการใช้สารสนเทศอยู่มากดังนี้
§  การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบ นักเรียนอาจเห็นพนักงานการไฟฟ้าไปที่บ้านพร้อมเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพื่อบันทึกข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ในการสอบแข่งขันที่มีผู้สอบจำนวนมาก ก็มีการใช้ดินสอระบายตามช่องที่เลือกตอบ เพื่อให้เครื่องอ่านเก็บรวบรวมข้อมูลได้ เมื่อไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าก็มีการใช้รหัสแท่ง (bar code) พนักงานจะนำสินค้าผ่านการตรวจของเครื่องเพื่ออ่านข้อมูลการซื้อสินค้าที่บรรจุในรหัสแท่ง เมื่อไปที่ห้องสมุดก็พบว่าหนังสือมีรหัสแท่งเช่นเดียวกันการใช้รหัสแท่งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บรวบรวม
§  การประมวลผล ข้อมูลที่เก็บมาได้มักจะเก็บในสื่อต่าง ๆ เช่น แผ่นบันทึก แผ่นซีดี หรือเทป เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาประมวลผลตามต้องการ เช่น แยกแยะข้อมูลเป็นกลุ่ม เรียงลำดับข้อมูล คำนวณ หรือจัดการคัดแยกข้อมุลที่จัดเก็บนั้น
§  การแสดงผลลัพธ์ อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการแสดงผลลัพธ์มีมาก สามารถแสดงเป็นตัวหนังสือ เป็นรูปภาพ ตลอดจนพิมพ์ออกมาที่กระดาษ การแสดงผลลัพธ์มีทั้งที่แสดงเป็นภาพ เป็นเสียง เป็นวีดิทัศน์ เป็นต้น
§  การทำสำเนา เมื่อมีข้อมูลที่จัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ การทำสำเนาจะทำได้ง่าย และทำได้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นอุปกรณ์ช่วยในการทำสำเนา จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เรามีเครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร อุปกรณ์การเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น จานบันทึก ซีดีรอม ซึ่งสามารถทำสำเนาได้เป็นจำนวนมาก
§  การสื่อสารโทรคมนาคม เป็นวิธีการที่จะส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หรือกระจายออกไปยังปลายทางครั้งละมาก ๆ ปัจจุบันมีอุปกรณ์ระบบสื่อสารโทรคมนาคมหลายประเภท ตั้งแต่โทรเลข โทรศัพท์ เส้นใยนำแสง เคเบิลใต้น้ำ คลื่นวิทยุไมโครเวฟ ดาวเทียม เป็นต้น
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยพื้นฐานของเทคโนโลยีย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้ แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้
§  เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น ทำให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพ ในระบบการจัดการทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและการตัดสินใจ ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทำงาน เช่น ใช้ในระบบจัดเก็บเงินสด จองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
§  เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมุลผ่านทางโทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้
§  เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใข้ในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี ในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
§  เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ เป็นต้น
 บทบาทในการศึกษาของเทคโนโลยีสารสนเทศ                                                                                                                                                                        1 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ปัจจุบันตามสถานศึกษาต่างๆ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมากมาย รวมทั้งใช้คอมพิวเตอร์ในงานบริหารของโรงเรียน เช่น การจัดทำประวัตินักเรียน ประวัติครูอาจารย์ การคัดคะแนนสอบ การจัดทำตารางสอน ใช้คอมพิวเตอร์ ในงานห้องสมุด การจัดทำตารางสอ น เป็นต้น ตัวอย่างในการประยุกต์ด้านการศึกษาเช่นโปรแกรมรายงานการลงทะเบียนเรียนโปรแกรมตรวจข้อสอบเป็นต้น                                                                                                                                                                                                         2 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรม คอมพิวเตอร์สามารถจะทำงานในด้านวิศวกรรมได้ตั้งแต่ขั้นตอนการลอกเขียนแบบ จนกระทั่งถึงการออกแบบโครงสร้างของสถาปัตยกรรมต่างๆ ต ลอดจน ช่วยคำนวณโครงสร้าง ช่วยในการวางแผน และควบคุมการสร้าง                                                                                                                                                                                                                                  3 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์สามารถทำงานร่วมกับเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ เช่น เครื่องมือวิเคราะห์สารเคมี เครื่องมือการทดลองต่างๆ แม้กระทั่งการเดินทางของยานอวกาศต่างๆ การถ่ายพื้นผิวโลกบนดาวอังคาร เป็นต้น                                                                                                                                                                                                                                                    4 . บทบาทคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บข้อมูลได้มากมาย มีความรวดเร็ว และถูกต้อง ทำให้สามารถได้ข้อมูลที่ช่วยให้สามารถตัดสินใจในการ ดำเนินธุรกิจ ตลอดจนงานทางด้านเอกสารงานพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น                                                                                                                                                                                                       5 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานธนาคาร ในแวดวงธนาคารนับได้ว่าคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทมากที่สุด เพราะธนาคารจะมีการนำข้อมูล < Transaction > เป็นประจะทุกวัน การหาอัตราดอกเบี้ยต่างๆ นอกจากนี้การใช้บริการ ATM ซึ่งลูกค้าสามารถฝากถอนเงินได้จากเครื่องอัตโนมัติ ซึ่งมำให้สะดวกแก่ผู้ใช้บริการเป็นอย่างยิ่ง และเป็นที่นิยมแพร่หลายในปัจจุบัน                                                                                                                                                                                                                   6 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในร้านค้าปลีก ปัจจุบันเห็นได้ว่า ได้มีธุรกิจร้านค้าปลีกหรือที่เรียกว่า " เฟรนไซน์" เป็นจำนวนมาก ได้มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการ ให้บริการลูกค้า เช่น ให้บริการชำระ ค่าน้ำ - ไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น จะเห็นได้ว่ามีการ onlineระหว่างร้านค้าเหล่านั้นกับหน่วยงานนั้นๆเพื่อสามารถตัดยอดบัญชีได้เป็นต้น                                                                                                                                                                                                             7 . บทบาทคอมพิวเตอร์ในวงการแพทย์ คอมพิวเตอร์ได้ถูกนำมาใช้ในการเก็บประวัติของคนไข้ ควบคุมการรับ และจ่ายยา ตลอดจนยังอยู่ในอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ เช่น เครื่องมือผ่าตัด บันทึกการเต้นของหัวใจ ตรวจคลื่นสมอง และด้านการหาตำแหน่งของอวัยวะก่อนการผ่าตัด เป็นต้น                                                                                                                                                                                                                          8 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในการคมนาคม และการสื่อสารในยุคปัจจุบัน เราเรียกว่าเป็นยุคที่เป็นการสื่อสารแบบไร้พรมแดน จะเห็นได้ว่ามีการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ ในเคร ือข่ายสาธาระณะที่เรียกว่า เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถที่จะสื่อสารกับทุกคนได้ทั่วมุมโลก โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้ และยังมีโปรแกรมที่สามารถจะใช้ในการพูดคุยกันได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกันใช้คุยกัน หรือจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์สื่อสารกับเครื่องโทรศัพท์ที่บ ้านหรือที่ทำงาน หรือแม้กระทั่งการส่ง pager ในปัจจุบันสามารถส่งทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องลูกได้ เป็นต้น สำหรับการใช้คอมพิวเตอร์ในทางโทรคมนาคมจะเห็นว่าปัจจุบันการจองตั๋วเครื่องบินจะมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นจำนวนมาก รวมถึงการจองตั๋วผ่านทาง Internet ด้วยตนเอง เห็นได้ว่าเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้บริการ และนอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายของสายการบินทั่วโลก ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกจองได้ตามสายการบินต่างๆ เป็นต้น                                                                                                                                                                                                                                    9 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานด้านอุตสาหกรรม ในวงการอุตสาหกรรมนับได้ว่าคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ตั้งแต่การวางแผนการผลิต กำหนดเวลาการผลิต จนกระทั่งถึงการผลิตสินค้า ควบคุมระบบ การผลิตทั้งหมดในรายงานทางอุตสาหกรรมได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมการ ทำงานของเครื่องจักร เช่น การเจาะ ตัด ไส กลึง เป็นต้น ตลอดจนโรงงานผลิตรถยนต์ ก็จะใช้ หุ่นยนต์คอมพิวเตอร์ในการทาสี พ่นสี รวมถึงการประกอบนรถยนต์ เป็นต้น                                                                                                                                                                                                                        10 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในวงราชการ คอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้ในงานทะเบียนราษฏร์ ช่วยในการนับคะแนนการ เลือกตั้ง และการประกาศผลเลือกตั้ง การคิดภาษีอากร การเก็บข้อมูล สถิติสัมมโนประชากร การเก็บเงินค่าไฟฟ้า น้ำประปา ค่าใช้โทรศัพท์ เป็นต้น
(http://www.bcoms.net/temp/lesson1.asp) ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคมระบบสารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการจุดมุ่งหมายพื้นฐานประการหนึ่ง คือ การประมวลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ  (Information) และนำไปสู่ความรู้ (Knowledge) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน                                                                                                                                                                                                                                                           ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว                                                                                                                                                                                                                            สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้

ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้วิถีความเป็นอยู่ของสังคมเปลี่ยนไปอย่างมาก เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับโลกครั้งใหญ่  อาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อทุกสิ่งทุกอย่าง  ทั้งการดำเนินชีวิต   เศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง  การศึกษาและอื่นๆ   เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นการประยุกต์เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารในรูปแบบต่างๆ  เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นต้น

บทบาทในการศึกษาของเทคโนโลยีสารสนเทศ  ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้น
      - สิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตเป็นอันมาก
      - เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี
      - เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน
      - สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น
      - เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมาก มีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ
      - เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก     
      - การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา

สรุป เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ และเทคโนโลยีกำลังจะก้าวหน้าไปทุวันดังนั้นเราต้องเรียนรู้ตลอดเวลา

เอกสารอ้างอิง
URL: (http://www.kmitl.ac.th/agritech/nutthakorn/04093009_2204/isweb/Lesson%2022.htm) เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 54
URL: (http://www.pbps.ac.th/e_learning/combasic/information1.html) เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 54
URL: (http://www.bcoms.net/temp/lesson1.asp) เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 54