สพฐ. เตรียมแจก 'แทบเล็ต' " ป.1 วันนี้ พร้อมปรับแผนกระจายแทบเล็ตใหม่ จัดสรรให้ทุกจังหวัดไล่ตามตัวอักษรจาก "ก-ฮ"แบ่งเป็น จังหวัดละ 2 รอบ นักเรียน ป.1 กระบี่ กาฬสินธุ์ กาญจนบุรี กำแพงเพชร กรุงเทพมหานครได้รับก่อน ไล่ไปเรื่อยๆ จนถึงหมวด อ ทุกจังหวัดจะได้รับเครื่องแทบเล็ตประมาณ 48%
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จัดพิธีปล่อยขบวนรถคาราวานส่งเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา Tablet ของนักเรียน ป.1 ล็อตแรกจำนวน 50,000 เครื่องวันนี้ (18 ก.ค.) ไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) และโรงเรียนต่างๆ โดยจะปล่อยจากบริเวณหน้ากระทรวงศึกษาธิการ
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า จากกำหนดการที่จะมีพิธีปล่อยคาราวานกระจายเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาหรือแทบเล็ตจากเดิมคือวันที่ 16 ก.ค. ซึ่งสพฐ.ได้เลื่อนพิธีการมาเป็นวันนี้ เพราะติดปัญหาเรื่องเวลาในการส่งมอบเครื่องแทบเล็ตใกล้เคียงกับกำหนดการเดิมตนจึงให้เลื่อยไปเป็นวันพุธที่ 18 ก.ค.นี้ โดยบริษัท พัสดุภัณฑ์ไทย จำกัด จะเป็นผู้จัดส่งเครื่องแทบเล็ตทั้งหมด ซึ่งในล็อตแรกจะจัดส่งไปยัง สพป.และโรงเรียนต่างๆ จำนวน 50,000 เครื่อง ตามจังหวัดหมวด ก ไปตามลำดับ โดยแต่ละแห่งจะได้รับเครื่องแทบเล็ตประมาณ 48% ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั้งหมด
"วันนี้ถือเป็นการตีระฆังว่า แทบเล็ตเริ่มกระจายให้เด็กนักเรียนชั้น ป.1 เริ่มต้นขึ้นแล้ว และในวันที่ 19 ก.ค. นี้ จะนำแทบเล็ตส่วนหนึ่งไปมอบให้แก่โรงเรียนดาราคาม ในเขตคลองเตย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เด็กนักเรียนฐานะไม่ค่อยดี โดยจะมีการเสวนานักวิชาการ มีคณะผู้บริหารและรัฐมนตรีได้พูดคุยเชิงนโยบายว่าเครื่องแทบเล็ตจะแก้ปัญหาการศึกษาไทยได้อย่างไร จากนั้นก็จะจัดเสวนาอีกครั้งที่ จ.สมุทรสาคร" นายชินภัทร กล่าว
นายชินภัทร กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามการกระจายแทบเล็ตไปในแต่ละจังหวัด จะแบ่งเป็นจังหวัดละ 2 ครั้ง โดยในล็อตแรก โรงเรียนประถมทุกแห่งในทุกจังหวัดตั้งแต่อักษร ก เป็นต้นไปจะได้เครื่องแทบเล็ตครึ่งหนึ่งก่อนเพื่อให้ทุกโรงเรียนได้แทบเล็ต เหมือนการกระจายความสุขให้แก่เด็กๆ ทั่วประเทศ จากนั้นเมื่อเครื่องแทบเล็ตล็อตสองก็จะกระจายที่เหลือคาดว่าการกระจายเครื่องแทบเล็ตให้ครบทั้งหมดภายในภาคเรียนนี้
นายชินภัทร เปิดเผยว่า ในวันที่ 18 ก.ค. นี้ โดยจะสามารถดำเนินการกระจายเครื่องแทบเล็ตล็อตแรกนี้ไปยังโรงเรียนต่างๆ ในจังหวัดหมวด ก ไปตามลำดับ จังหวัดกระบี่เป็นจังหวัดแรก กาฬสินธุ์ กาญจนบุรี กำแพงเพชร กรุงเทพมหานคร ไล่ไปเรื่อยๆ จนถึง จังหวัดหมวด อ โดยแต่ละจังหวัดจะได้รับเครื่องแท็บเล็ตประมาณ 48% ของจำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั้งหมดในจังหวัดก่อน คาดว่าจะสามารถจัดสรรแทบเล็ตได้ครบทั้งหมดภายในภาคเรียนนี้
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมากระบวนการกระจายแทบเล็ตล่าช้ากว่ากำหนดการเนื่องจาก การตรวจสอบเครื่องแทบเล็ต ต้องรอให้ครบ 35,000 เครื่องก่อน จากนั้นคณะกรรมการตรวจรับจากกระทรวงไอซีทีก็จะเริ่มสุ่มตรวจเครื่องแทบเล็ตจำนวน 500 เครื่อง และเมื่อตรวจสอบและเซ็นตรวจรับเรียบร้อยแล้ว กระทรวงไอซีที จะทำหนังสือส่งมอบแทเล็ตให้กับ สพฐ.อย่างเป็นทางการ โดยเครื่องแทบเล็ตทั้งหมดยังถูกเก็บในคลังสินค้าของบริษัท พัสดุภัณฑ์ไทย จำกัด เมื่อ สพฐ.ได้รับหนังสือส่งมอบแล้วก็สามารถดำเนินการกระจายเครื่องแทบเล็ตล็อตแรกนี้ไปยังโรงเรียนต่างฯในจังหวัดหมวด ก. ไปตามลำดับ โดยแต่ละแห่งจะได้รับเครื่องแทบเล็ตประมาณ 48%ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั้งหมด
"การกระจายเครื่องแทบเล็ตไปยังโรงเรียนต่างๆ ต้องดูความพร้อมและเลือกวันที่ดีๆ เพื่อเป็นการตีระฆังว่า แทบเล็ตเริ่มกระจายให้เด็กนักเรียนชั้นป.1 เริ่มต้นขึ้นแล้ว และในวันที่ 19 ก.ค.นี้จะนำแทบเล็ตส่วนหนึ่งไปมอบให้โรงเรียนดาราคาม ในเขตคลองเตย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เด็กนักเรียนฐานะไม่ค่อยดี โดยจะมีการเสวนานักวิชาการ มีคณะผู้บริหารและรัฐมนตรีได้พูดคุยเชิงนโยบายว่าเครื่องแทบเล็ตจะแก้ปัญหาการศึกษาไทยได้อย่างไร จากนั้นก็จะจัดเสวนาอีกครั้งที่ จ.สมุทรสาคร" นายชินภัทร กล่าว
ครูป.1พร้อมสอนใช้แทบเล็ต
นายเอนก รัตน์ปิยะภาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ. เปิดเผยว่าการจัดอบรมศึกษานิเทศก์แกนนำการใช้แทบเล็ตเพื่อให้ครูใช้สอนนักเรียนชั้น ป.1 จำนวน 588,967 คน ซึ่งเป็นการอบรมศึกษานิเทศก์ด้านบูรณาการใช้แทบเล็ต เพื่อยกระดับการเรียนการสอนและเป็นแนวทางให้ศึกษานิเทศก์นำไปใช้ฝึกอบรมครูชั้น ป. 1 ต่ออีกครั้งหนึ่ง โดยการอบรมจะแบ่งเป็น 5 หัวข้อสำคัญ ได้แก่
1.การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาพอนาคตการศึกษาไทยโดยหลังจากศึกษานิเทศก์แกนนำผ่านการอบรมแล้ว จากนั้นก็จะไปจัดการอบรมครูชั้น ป.1 อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งต้องให้แล้วเสร็จภายในเดือนส.ค. นี้
2.การสร้างความรู้และทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์พกพาแทบเล็ตในการจัดการเรียนรู้
3.สร้างความรู้เกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้สำหรับคอมพิวเตอร์พกพาแทบเล็ต
4.สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์พกพาแทบเล็ต และ
5. สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศูนย์บริการคอมพิวเตอร์พกพาแทบเล็ตเพื่อการเรียนการสอน
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น